วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

คนไทยรู้จักเครื่องบินครั้งแรกเมื่อไร และมีดอนเมืองทำไม (ตอนแรก)

คนไทยรู้จักเครื่องบินครั้งแรกเมื่อไร และมีดอนเมืองทำไม (ตอนแรก)
หลังจากที่อินโดจีนฝรั่งเศส ได้ใช้กำลังแย่งชิงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาว) ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (ไชยบุรี และจำปาศักดิ์ ของลาว) และเขมรส่วนใน (พระตะบอง, เสียมราฐ และศรีโสภณของเขมร) ไปจากไทยไปอย่างไม่เป็นธรรมไปแล้วถึง 5 ครั้ง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้บ่มเพาะเป็นความเจ็บแค้น อยู่ในจิตใจของคนไทยเรื่อยมา
เมื่อตอนก่อนหน้าที่แล้ว ได้เล่าถึงความสามารถในการสู้รบ ของทหารไทยในสงครามอินโดจีน โดยทหารบกไทย สู้รับกับฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศส ที่สมรภูมิบ้านพร้าว ในเขมร และทหารเรือไทย ต่อสู้กับกองทัพเรืออฝรั่งเศส ในสมรภูมิเกาะช้าง

วันที่ 31 มกราคม 2454 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีวัตถุแปลกประหลาดบินวนไปเวียนไปมาบนท้องฟ้า เหนือมหานครกรุงเทพฯ สร้างความพิศวงงงงวย ตื่นตะลึง ตื่นตาตื่นใจ ในสิ่งมหัศจรรย์นี้ให้กับคนไทย ที่อยู่บนพื้นดินในเวลานั้นเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งเมื่อเจ้าสิ่งนั้นร่อนลงสู่พื้น ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) คนไทยก็ได้รู้จักกับ “เครื่องบิน” เป็นครั้งแรก ในครั้งนั้นคนไทยเราแทบจะไม่เชื่อสายตาตนเองเลยว่า มนุษย์ก็สามารถบินได้เหมือนกัน เครื่องบินวันนั้นเป็นแบบปีก 2 ชั้นแบบอังรี ฟามัง 4 (Henri Farman IV) ชื่อ Wanda นักบินเบลเยี่ยมมาแสดงการบินให้คนไทยได้เห็นกับตา
พล.อ.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ได้มาทอดพระเนตรเหตุการณ์สำคัญนี้ด้วย และนั่นคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ประเทศไทยของเรา มีกิจการบินเป็นของตนเอง จากวันนั้นเอง รัชกาลที่ 6 และเจ้านายอีก 2 พระองค์คือ เสนาธิการทหารบก และ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ได้ทรงตระหนักเห็นถึงความสำคัญที่ประเทศสยาม ต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกันประเทศชาติจากภัยคุกคามต่างๆ ดังนั้นการคัดเลือกนายทหารระดับหัวกะทิ เพื่อที่จะถูกส่งไปเรียนวิชาการบินจึงเริ่มต้นขึ้นในเวลานั้น มีนายทหารจำนวน 3 นายที่ถูกคัดเลือก ถูกมอบภารกิจพิเศษ คือ ไปศึกษาวิชาการบิน ที่โรงเรียนการบินนิเออปอร์ต ณ สนามบินวิลลาคูเบลย์ ประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. 2455 เวลา 1 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้จัดตั้ง “แผนกการบิน” ขึ้น โดยอยู่ในบังคับบัญชาของ พล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรการช่างทหารบก และมีการสร้างโรงเก็บเครื่องบินชั่วคราว ไว้ที่สนามม้าสระปทุม ในปีถัดไป
พ.ศ. 2456 เมื่อนายทหารทั้ง 3 คน สำเร็จหลักสูตรการบินแล้ว จึงเดินทางกลับประเทศไทย โดยได้นำเครื่องบินที่ทางราชการสั่งซื้อเป็นจำนวน 8 เครื่อง มายังประเทศไทยโดยบรรทุกมาทางเรือ เป็นเครื่องบินแบบ “นิเออปอร์ต” จำนวน 4 เครื่อง และแบบ “เบรเกต์” อีก 4 เครื่อง นำมาไว้ในโรงเก็บที่สนามม้าสระปทุม
ทั้ง 3 นาย ที่สำเร็จการบิน ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ น.อ.พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ น.อ.พระยาทยานพิฆาฏ ตามลำดับ กองทัพอากาศ จึงถือว่าท่านทั้ง 3 นาย เป็น “บุพการีทหารอากาศ” ทั้งยังได้เป็นครูฝึกสอนการบิน และช่างเครื่องให้กับนักบินรุ่นต่อๆ มาด้วย


วันที่ 29 ธันวาคม 2456 เป็นวันที่แผนกการบิน ได้ทำการทดลองบินด้วยเครื่องทั้ง 8 ลำ ของประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุมนั่นเอง โดยในวันนั้นมีทั้งข้าราชการฝ่ายทหาร และพลเรือน รวมทั้งประชาชนมากมาย แห่กันไปชมการบินอย่างคับคั่ง เป็นความสำเร็จครั้งแรกของกิจการการบินของไทย
หลังจากวันนั้น นายทหารทั้ง 3 นาย ได้ช่วยกันสร้างรากฐานการบินของไทยไว้เป็นอย่างดี ทำให้กิจการบินได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในที่สุด สนามม้าสระปทุม สถานที่ที่ใช้เป็นแผนกการบินก็ดูจะคับแคบเกินไป ในปีต่อมาจึงต้องย้ายสนามบินมาอยู่ที่ดอนเมือง
วันที่ 27 มีนาคม 2457 กระทรวงกลาโหม ได้ออกคำสั่งให้ตั้ง “กองบินทหารบก” ขึ้นโดยมีที่ตั้งอยู่ที่สนามบินดอนเมือง นั่นเอง หลังจากก่อตั้งการบินทหารบกได้ไม่ถึง 2 เดือน พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ ได้ประกาศศักดาเสืออากาศไทย ด้วยการนำเครื่องบินเบรเกต์ 3 ที่สร้างขึ้นเองด้วยวัสดุภายในประเทศ (ยกเว้นเครื่องยนต์) ขึ้นทดลองบินที่ระยะสูง 300 ฟุต เป็นผลสำเร็จ มีสมรรถนะไม่แพ้เครื่องจากต่างประเทศ
ต่อมาสงครามโลกครั้งที่ 1 ในทวีปยุโรปได้ระเบิดขึ้น ประเทศมหาอำนาจ คู่สงครามต่างก็สร้างเครื่องบินออกมาใช้ ทำยุทธเวหากันอย่างอุตลุด มีการพัฒนาแสนยานุภาพทางการบินกันอย่างใหญ่โต และในครั้งนั้นเครื่องบิน จึงได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือน เทคโนโลยีการบินจึงได้ถูกออกแบบอย่างซับซ้อน มีการพัฒนากันอย่างไม่หยุดหย่อน
วันที่ 19 มีนาคม 2461 กระทรวงกลาโหมของไทย ได้ยกฐานะกองบินทหารบกขึ้นเป็น “กรมอากาศยานทหารบก” จากนั้น ไทยเราก็มีการสร้างเครื่องบินขึ้นอีกเรื่อยๆ ในอีก 9 ปีถัดมา นายทหารช่างไทย ก็สามารถสร้างตัวถังเครื่องบิน ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์ฝรั่งได้เองสำเร็จ เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดปีก 2 ชั้นแบบบริพัตร
วันที่ 23 มิถุนายน 2470 ทำการทดลองบินเมื่อ และอีก 2 ปีถัดมา ได้ออกแบบเครื่องบินขับไล่ให้กองโรงงานสร้างขึ้น ได้รับพระราชทานชื่อว่า “ประชาธิปก” ทั้ง 2 รุ่นนี้ ก็ได้เข้าประจำการในกองทัพหลายสิบปี เป็นความสำเร็จครั้งแรกและครั้งเดียวที่คนไทยสามารถผลิตเครื่องบินเองได้
พอสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง ก็ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนั้นด้วย ทำให้การสร้างเครื่องบินใช้เองนั้น เป็นการลงทุนที่สูงมาก การผลิตเครื่องบินของคนไทยยังทำกันได้น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดซื้อเครื่องบินจากฝรั่ง และมหาอำนาจเอเชียประเทศใหม่ คือ ประเทศญี่ปุ่น
การจัดซื้อจากประเทศเหล่านี้จึงคุ้มค่ากว่า และนับจากนั้นคนไทยก็ไม่เคยผลิตเครื่องบินเองอีกเลย แต่ในช่วงเวลานี้ กองทัพไทย ก็ยังมีการพัฒนาศักยภาพการบินขึ้นเรื่อยๆ จำนวนเครื่องบินที่ถูกสั่งเข้ามามีมากขึ้น เพื่อใช้งานทางด้านกิจการทหารและพลเรือน
วันที่ 9 เมษายน 2480 สืบเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านอากาศยานของโลกได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก จึงต้องมีการขยายการดำเนินงานของกองทัพให้ใหญ่โตขึ้นด้วย กระทรวงกลาโหม จึงได้ยกฐานะของกรมทหารอากาศเดิม ขึ้นเป็น “กองทัพอากาศ” บ้านเราจึงได้มีกองทัพอากาศไทยขึ้นในปีนั้นเอง ช่วงนั้นไทยมีเครื่องบิน คือ
- เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว ปีก 2 ชั้นคือ เคอร์ติส ฮอว์ก - 2 ขาแข็ง (พับฐานไม่ได้) จำนวน 1 ฝูง และเคอร์ติส ฮอว์ก - 3 พับฐาน จำนวน 2 ฝูง
- เครื่องบินโจมตี และตรวจการแบบ วอจ์ต คอร์แซร์ ปีก 2 ชั้น 2 ที่นั่ง มีพลปืนหลัง จำนวน 2 ฝูง
- เครื่องบินทิ้งระเบิด มาร์ติน 139 WSM แบบปีกชั้นเดียว 2 เครื่องยนต์ จำนวน 6 เครื่อง แต่เมื่อถูกส่งมาถึงได้ไม่นาน ลำตัวเครื่องก็มีอันหักพังเสียหายไป 1 เครื่อง ตกในทุ่งนาแถวสถานีรถไฟหลักสี่
- ต่อมากองทัพอากาศไทยได้ซื้อลิขสิทธิ์แผนแบบ ฮอว์ก – 3 กับคอร์แซร์ มาให้กรมช่างอากาศยานผลิตออกมาใช้เป็นจำนวนมาก
กองทัพอากาศไทย ถือได้ว่าเป็น หนึ่งในกองทัพอากาศที่เก่าแก่ ในยุคที่รุ่งเรืองสูงสุดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอากาศไทย คือ กองทัพอากาศที่มีอานุภาพมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น กองทัพอากาศไทย จึงมีบทบาทอย่างสูงในกรณีพิพาทอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
พ.ศ.2483 ประชาชนจำนวนมาก เกิดความเคียดแค้นชิงชังฝรั่งเศส จนพาออกมาเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลไทยในการเรียกร้องขอดินแดนคืนจากฝรั่งเศส สงครามอินโดจีน เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไทย ในสมัยนั้น ได้เกิดปัญหาข้อพิพาท การปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับเขตอินโดจีน (ลาว – กัมพูชา) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
หลังการรบทหารบกที่เขมร และทหารเรือที่เกาะช้าง กองทัพอากาศไทยก็ได้แสดงศักยภาพการเป็นเสืออากาศการรบในสมรภูมิจริงอันห้าวหาญ ให้ปรากฏเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ปีนั้น เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลไทย จะประกาศสงครามกับฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
ช่วงนั้น อินโดจีนฝรั่งเศส มักส่งเครื่องบินเข้ามาบินก่อกวนในเขตของไทยเราบ่อยๆ และในวันนี้เอง เครื่องบินทิ้งระเบิด ฟามัง จำนวน 2 เครื่อง บินล้ำเข้ามาเหนือน่านฟ้า อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ไทยเราจึงส่งเครื่องบินขับไล่ 3 เครื่องขึ้นไปสกัดกั้น จนมีทีท่าว่าจะปะทะกันอยู่แล้ว แต่อยู่ดีๆ เครื่องฟามัง ของฝรั่งเศสชิ่งหนีกลับไปทางเวียงจันทน์เสียก่อน
หลังจากนั้น ฝรั่งเศสก็ได้ปฏิบัติการบินยุแหย่ไทยเราไปพักใหญ่ กองทัพอากาศไทย จึงสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ ที่มีสมรรถนะเท่าเทียมกับเครื่องบินของฝรั่งเศส จากสหรัฐอเมริกา คือ เครื่องบินขับไล่ปีกชั้นเดียว เคอร์ติส ฮอว์ก 75 N จำนวน 16 เครื่อง มูลค่า 468,000 US (อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น 1 เหรียญ เท่ากับ 2.50 บาท)


วันที่ 5 พฤศจิกายน 2483 ในขณะที่กำลังขนส่งมาทางเรือถึงกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ รัฐบาลสหรัฐ ได้สั่งกักเครื่องบินทั้งหมด ที่จะนำมาให้กองทัพอากาศไทยไว้ที่นั่น เพราะขณะนั้นไทยกำลังพิพาทกับฝรั่งเศส อเมริกา กลัวไทยจะมีอาวุธทัดเทียมอินโดจีนฝรั่งเศส แล้วจะชนะสงคราม
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 เวลา 08.00 น. เครื่องบินไทย 2 เครื่อง ขึ้นบินสกัดกั้นเครื่องบินของฝรั่งเศส 4 เครื่อง เหนือน่านฟ้าจังหวัดอุดรธานี ปะทะกันได้ครู่หนึ่ง ฝรั่งเศสก็ถอนตัวกลับไป ในวันเดียวกัน และเวลาเดียวกันนี้เอง ได้มีเครื่องบินแบบโมราน ซอนเยร์ ของฝรั่งเศสจำนวน 5 เครื่อง บินเข้ามาทิ้งระเบิดที่นครพนม
ฝ่ายไทย ได้ส่งเครื่องบิน บ.ข. 17 ฮอร์ค 3 จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องบิน บ.ต. 23 คอร์แซร์ 1 เครื่อง ขึ้นบินสกัดกั้น เมื่อเครื่องบินของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าปะทะกัน เครื่องบินฝรั่งเศส 2 เครื่องดำดิ่งลงมาหาเครื่องบินของไทย เพื่อล่อให้แตกหมู่ออกมา ส่งผลให้เครื่องของไทย 1 เครื่อง หลุดเดี่ยวออกไป เครื่องบินฝรั่งเศส อีก 3 เครื่อง จึงบินเข้ามารุมกินโต๊ะทันที
เป็นศึกรุม 3 ต่อ 1 แต่เสืออากาศไทย ควบคุมสติไว้มั่น พยายามล่อหลอกให้เครื่องบินฝรั่งเศส ที่มีสมรรถนะสูงกว่าไล่เกาะหลัง เมื่อยิงพลาดเป้า เครื่องบินฝรั่งเศส ทั้ง 3 เครื่องจึงบินถลำหน้าไปแล้วตกเป็นเป้าเสียเอง เลยถูกไทยยิงใส่จนควันโขมง เครื่องบินไทยอีกลำหนึ่งได้เข้าช่วยแก้สถานการณ์ ชุลมุนกันอยู่พักใหญ่ เครื่องของฝรั่งเศส ก็โกยแน่บบินหนีไป
รวมเวลารบกันทั้งสิ้น 17 นาที ต่อมา เครื่องบินของฝรั่งเศส ที่ถูกไทยยิก ได้ไปตก 1 เครื่องในเขตอินโดจีน ส่วนเครื่องบินฝ่ายไทยไม่ได้รับความเสียหายใดๆ นับเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของกองทัพอากาศไทยในครั้งนั้น ที่หักหน้าอินโดจีนฝรั่งเศสได้
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2483 มีเครื่องบินฝรั่งเศส เข้ามาบินตรวจการณ์เหนือเมืองนครพนม ไทยเราจึงส่งเครื่องบิน ฮอว์ก – 3 ขึ้นขับไล่จนฝรั่งเศสต้องบินหางจุกตูดหนีออกไปอีก พอวันต่อมา ฝรั่งเศส ก็มาบินตรวจการณ์เหนือบ้านศรีเชียงใหม่ และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย อีก ไทยจึงส่งเครื่องบินคอร์แซ บุกไปทิ้งระเบิดทำลายหน่วยที่ตั้งทางทหารของฝรั่งเศส ที่เมืองท่าแขก ผลก็คือ หน่วยทหารแห่งนั้น โดนถล่มยับเยินไม่มีชิ้นดี
วันที่ 1 ธันวาคม 2483 เกิดการปะทะกันกลางอากาศเหนือน่านฟ้านครพนม ระหว่างเครื่องบินของไทย 1 เครื่องกับเครื่องบินฝรั่งเศส 2 เครื่อง ปะทะกันอยู่ราว 10 นาที เครื่องบินฝรั่งเศสจึงโกยอ้าวถอยหนีไปอีก และไม่ปรากฏความเสียหายทั้งสองฝ่าย
ในวันเดียวกันนั้น เวลา 08.30 น. ฝั่งชายทะเลตะวันออก นาวิกโยธินฝรั่งเศส แอบยกพลมาทางเรือพยายามจะขึ้นบกที่ฝั่งทะเลจังหวัดตราด เมื่อไทยเราทราบ กองบินจังหวัดจันทบุรี จึงส่งเครื่องบินขับไล่ เข้าถล่มกองเรือนาวิกโยธินฝรั่งเศส ทำให้ไม่สามารถยกพลขึ้นบกได้ และโกยแน่บถอยกลับไปทางเกาะกง เขมร
วันที่ 8 ธันวาคม 2483 เพื่อตอบแทนคุณงามความดีอินโดจีนฝรั่งเศส ไทยได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด คอร์แซร์ ขึ้นบินจากฐานบินอุดรธานี ไปโจมตีที่ตั้งทางทหารของฝรั่งเศสที่เวียงจันทน์ ผลปรากฏว่าฐานที่มั่นฝรั่งเศสเสียหายยับเยิน แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดของไทย ก็ถูกปืนต่อสู้อากาศยานยิงอย่างหนักหน่วง ถูกกระสุนถึง 20 แผล แต่ก็ยังสามารถประคองเครื่องกลับมาถึงฐานบินไทยได้สำเร็จ นักบินทั้ง 2 นายปลอดภัย
วันนั้นเอง ญี่ปุ่น ก็ยกพลขึ้นบกสู่ประเทศไทย เข้ามาทางอ่าวไทย จึงได้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทย และทหารญี่ปุ่น ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย นักบินของไทย จึงนำเครื่อง ฮอร์ค 3 จำนวน 3 เครื่อง บินขึ้นจากสนามบินวัฒนานคร เข้าห้ำหั่นต่อสู้กับเครื่องบินแบบนากาจิมา กิ -27 (โอตะ) ของญี่ปุ่น 20 เครื่อง
ซึ่งไทยเราเสียเปรียบทั้งทางด้านความเร็ว สมรรถนะ และจำนวนเครื่อง ทำให้ไทยถูกเครื่องบินญี่ปุ่นยิงตกจนหมด นักบินเสียชีวิต ไทยประกาศหยุดยิง และยอมให้ญี่ปุ่น เดินทัพผ่านประเทศไทย ซึ่งต่อมาไทยเราก็ได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายญี่ปุ่นในที่สุด
วันรุ่งขึ้น ฝรั่งเศส เสียหน้าจัด จึงตอบโต้โดยการเข้ามาทิ้งระเบิดที่อุดรธานี เครื่องบินขับไล่ของไทยจึงบินขึ้นสกัดกั้น แต่คราวนี้เครื่องบินไทยถูกยิงตกและนักบินเสียชีวิต ในระหว่างนี้เครื่องบินทยอีกลำ มีการรบกันกลางอากาศในรูปแบบตัวต่อตัวกับฝรั่งเศส ผลปรากฏว่านักบินฝรั่งเศส ถูกยิงตายและเครื่องบินตกลงสู่พื้นดิน

วันที่ 10 ธันวาคม 2483 ไทยส่งเครื่องบินคอร์แซร์ไปทิ้งบอมบ์ฝรั่งเศสที่เวียงจันทน์ใหม่อีกครั้ง เครื่องของไทยได้ถูกปืนต่อสู้อากาศยานของฝรั่งเศส ยิงโดนเข้าที่ถังน้ำมัน จนไฟลุกไหม้ นักบิน ถูกกระสุนเข้าที่เข่า และถูกไฟลวก แต่ก็ยังพยายามประคองเครื่องบินคู่ชีพเข้ามายังฝั่งไทยและกระโดดร่มลงมา ส่วนพลปืน ตกลงพร้อมกับเครื่องเสียชีวิต ต่อมานักบินบาดเจ็บสาหัสและได้เสียชีวิตไป
** ตอนต่อไป..ติดตามว่าการรบระหว่างกองทัพอากาศไทย กับฝรั่งเศส ใครจะแพ้ และเมื่อมีสงครามโลกครั้งที่ 2 มาซ้ำไทยพอดี ประชาชนจะต้องเจออะไร

Cr, เสธ น้ำเงิน3

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ไขปริศนา..ข้างล่างด้านในอนุสาวรียชัยสมรภูมิมีอะไร ดินที่ถมมาจากไหน (ตอนจบ)

ไขปริศนา..ข้างล่างด้านในอนุสาวรียชัยสมรภูมิมีอะไร ดินที่ถมมาจากไหน (ตอนจบ)


ตอนที่แล้วเล่าถึง นายทหารฝรั่งเศสสั่งการให้ทหารต่างด้าว เคลื่อนพลเข้าโจมตีบ้านพร้าวตามแผน พร้อมกองผสม ที่จะเข้าตีบ้านยาง ด้วยความประมาท และคิดว่ายังต้องเดินอีกตั้ง 4 กิโลเมตรจึงจะถึงที่ตั้งค่ายบ้านพร้าว ยังมีเวลาอีกมาก ฝ่ายฝรั่งเศส ทั้งหมดจึงเดินแถวกันมาอย่างสบายๆ พูดคุยกันไปด้วย บางคนสูบบุหรี่
** ความเดิม..อนุสาวรียชัยสมรภูมิ เกี่ยวอะไรกับไทย กับ ฝรั่งเศส (ตอนแรก) คลิ๊กที่ http://thaifernando.blogspot.com/2015/03/blog-post.html
ทหารไทยมองเห็นเงาตะคุ่มๆ ของกองระวังหน้าฝรั่งเศส เดินล่วงพ้นแนวรับของทหารไทยเข้ามา นิ้วของทุกคนก็แตะไกปืนโดยอัตโนมัต เสียงปืนที่ดังเปาะแปะแต่ไกลมาจากทิศเหนือ บ่งบอกว่าน่าจะมีอะไรเกิดขึ้นที่บ้านยางแล้ว แต่ด้วยวินัยที่ดีเยี่ยม ทหารไทยไม่มีใครเผลอทำปืนลั่นให้ข้าศึกรู้ตัว
จนในที่สุด แถวตอนเรียงสามของฝรั่งเศส ก็เข้ามาอยู่กลางกระหนาบ ของฝ่ายตั้งรับที่ซุ่มกำลังอยู่ในคูน้ำแห้ง แม้จะอยู่กลางพื้นที่สังหารแล้ว ทหารฝรั่งเศสยังหารู้ตัวไม่ จนกองระวังหน้าเดินเข้าไปเกือบจะถึงรังปืนกลหนัก ที่ถูกจัดให้ประเคนใส่ เมื่อเห็นว่าจะให้ใกล้กว่านี้อีกไม่ได้แล้ว ปืนกลหนักกระบอกแรกของทหารไทย ก็ลั่นไกปล่อยกระสุนตับแรกออกไป


เป็นสัญญาณให้ปืนทุกกระบอกของทหารไทย ส่งเสียงกึกก้องไปทั่วสมรภูมิ เสียงปืนที่ดังหูดับตับไหม้ในเวลากลางคืน กึกก้องไปหมด กระสุนแหวกอากาศ ดังเควี้ยวคว้าว ที่คูน้ำแห้งทหารไทยยิงไปตามแผน ผู้บังคับบัญชากำหนด หมดใดยิงไปทางซ้าย ก็ยิงไปยังเป้าหมายเฉพาะทางซ้าย ไม่วอกแวกไปยิงทางอื่น
พอถูกระดมยิง พวกทหารต่างด้าวฝรั่งเศสที่บาดเจ็บสาหัสล้มตาย ก็กองอยู่กับที่ พวกที่เหลือก็วิ่งหนีตายอย่างสุดกำลัง โหวกเหวกอลหม่านไปทั่ว เสียงที่ตะโกนว่า “ศรีโสภณ ศรีโสภณ” ทหารไทยก็วิ่งขึ้นจากที่มั่น ก็ไล่ติดตามยิง แต่ก็ไม่กล้าไปเร็วนัก เพราะยังไม่สว่างดี ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเป็นกับดักอยู่ข้างหน้า
ทหารไทยหน่วยหนึ่ง ตามเจอนายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งขี่ม้าสะเปะสะปะอยู่ ก็เข้าไปล้อมไว้ สั่งให้หยุดเป็นภาษาอังกฤษ แล้วให้ลงจากหลังม้าทันที นายทหารคนนั้นก็ยอมเชื่อฟังแต่โดยดีไม่คิดต่อสู้ เพราะถูกยิงบาดเจ็บที่สีข้าง ทหารไทยจึงคุมตัวไป ทหารต่างด้าว เมื่อเห็นเพื่อนล้มตายและถูกทหารไทยตามยิงไปติดๆ ก็ถอดใจ ทิ้งอาวุธหนีเอาตัวรอด
ที่ยังถืออยู่ในมือ พอเห็นทหารไทย ก็โยนปืนทิ้งหันหลังวิ่งไม่คิดชีวิต ทหารไทยก็ไม่ได้ยิงตาม แต่ปล่อยให้วิ่งหนี และไม่ได้วิ่งตามไปจับเป็นเชลย นอกจากพวกที่ยอมมอบตัว ทหารไทยอีกหมวด ตามไล่ข้าศึกพ้นแนวไม้มาก็ประจัญกับทหารฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่ง พอเห็นทหารไทยก็ตกใจทิ้งปืนชูมือหรา มีอยู่คนหนึ่งถือถุงยาวๆ อยู่ ทหารไทยก็เข้าไปกระชากมา
เมื่อได้มาแล้วก็โบกมือไล่ให้วิ่งหนีไปทั้งหมด พอดึงออกมาจากถุง จึงเห็นเป็นธงไชยเฉลิมพลของกองพันทหารต่างด้าว III/5e REI ของฝรั่งเศสพร้อมเหรียญกล้าหาญครัวซ์ เดอ แกร์ (Croix de guerre) ปกติทหารจะไม่เอาธงไชยเฉลิมพลมาออกรบ เพราะถ้าเสียทีจะถูกข้าศึกยึดไป ก็จะเสียหายถึงเกียรติภูมิของชาติไปด้วย แต่ด้วยฝรั่งเศสเห็นว่าคงจะชนะแน่ ถึงพาธงไชยเฉลิมพลมาด้วย เพื่อจะเอาไว้ฉลองชัยชนะ
พอทหารไทยเอาธงนี้ไปให้พวกเชลยฝรั่งเศสที่จับมาได้ดู เชลยเห็นเข้าถึงกับออกอาการเซ็ง บางคนถึงกับร้องไห้ สงสารเพื่อนที่มาตายหมู่ครั้งนี้ ธงนี้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละประมาณ 90เซนติเมตร พื้นสีเทาอ่อน มีขลิบโดยรอบ ด้านหนึ่งมีรูปหน้าเสือ อีกด้านหนึ่งเป็นอักษร บอกนามหน่วย มีเหรียญครัวซ์ เดอ แกร์ กับเหรียญตรามังกร และเหรียญอื่น ประดับอยู่ที่ยอดเสาธง รวม 3 เหรียญ
การรบในยกแรกไม่เกิน 30 นาที แต่การรบวันนั้นยังไม่ยุติ เพราะเหตุการณ์อีกด้านทางบ้านยาง ที่เสียงปืนดังขึ้นก่อนหน้านั้น ผู้บังคับบัญชากองทัพทหารราบซึ่งตั้งอยู่ในที่มั่น คิดว่าเป็นแค่กลลวงของฝรั่งเศสว่าจะเข้าตี แต่ความจริงแล้วจะตีบ้านพร้าว เพราะยังยิงกันแค่เปาะแปะ พอได้ยินเสียงปืนดังขึ้นปานโลกาวินาศทางทิศใต้บ้านพร้าม เสียงปืนของฝ่ายฝรั่งเศสก็เงียบไป
ทหารไทยที่บ้านยาง รอแล้วรออีกก็ไม่เห็นมีใครบุกเข้าโจมตีสักที เพราะกองกำลังผสม ทหารพื้นเมืองญวนเขมร พอได้ยินเสียงปืนของไทยหนักแน่นเขย่าประสาทเข้าเท่านั้น ก็เลยเผ่นดีกว่า นายทหารฝรั่งเศส เห็นลูกน้องวิ่งก็วิ่งตามบ้าง ในที่สุดก็ตะโกนให้ไปเจอกันที่ศรีโสภณเลย
ส่วนทหารปืนใหญ่ กับทหารรถถัง ฝรั่งเศส ที่อยู่แนวหลังได้รับคำสั่งให้ยิงได้ก็ยิงสุ่มไป พอให้มีเสียงเข้าไว้ แต่ไม่เข้าเป้า ถูกแต่ต้นไม้ในป่า กระสุนตกห่างๆ แนวหน้าของไทยไปมาก แต่กองร้อยปืนใหญ่ของไทย ได้ยิงถล่มจุดที่ตั้งหน่วย DMC ของทหารฝรั่งเศสโดนรถถัง และรถรบพังไป 3 คัน
ตอนช่วงสายวันนั้น รถถังแบบ 76 ( Vickers 6ton) ของไทยคันหนึ่ง ก็ควบตะบึงจากปอยเปตเข้ามาในสมรภูมิ เจอหมู่ปืนเล็กของทหารไทย ที่จำรถถังฝ่ายเดียวกันได้ แล้วส่งสัญญาณให้ทราบ มีกองทหารต่างด้าวหมวดหนึ่ง ที่ยังไม่ได้หนีโดยสิ้นเชิง และกำลังอยู่ระหว่างพยายามสนธิกำลังเข้าตีโต้ทหารไทยบ้าง แต่เคราะห์ร้ายที่เจอกับรถถังไทยเข้า
ผู้บังคับหมวด ทหารฝรั่งเศสโดนรถถังคันหนึ่งยิงเสียชีวิตในที่รบ ทหารฝรั่งเศสที่เหลือ จึงต้องวิ่งหนีป่าราบ ตอนที่รถถังมานั้นก็สายมากแล้ว ทหารราบของไทย กำลังตรวจตราพื้นที่ปะทะ รถถึงคันนั้นได้วิ่งตะบึงลงไปในคู ไม่ได้สะพานเพราะคิดว่าจะปีนขึ้นได้ แต่พอหัวทิ่มลงไป ตีนตะขาบก็ลอยไม่ติดดิน
จะเดินหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ไม่ได้ ต้องทิ้งไว้อย่างนั้น ตอนบ่ายจึงเอารถลากมาผูกสลิง แล้วดึงขึ้นมา ต่อมาเวลาประมาณ 12.00 น. ฝ่ายฝรั่งเศสส่งรถถัง จำนวน 5 คัน มาสนับสนุนการเข้าตีของทหารราบฝรั่งเศส และยิงลูกระเบิดใส่ฝ่ายไทย ฝ่ายไทยส่งรถถัง แบบ 76 จำนวนหนึ่งไป และได้บุกเข้าปฏิบัติการในแนวข้าศึกอย่าง รวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด
โดยไม่มีทหารราบติดตามไป ใช้เพียงการยิง และการเคลื่อนที่ของรถถัง พอรบลึกๆ เข้าไปก็เจอปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง 25 มม. ทำให้รถถังไทยพังไป 2 คัน ฝรั่งเศสขุดสนามเพลาะไว้ตั้งรับแต่ก็ต้านกองทัพไทยไม่ได้ ทำให้ทหารข้าศึกเสียขวัญแตกกระเจิงไป และเมื่อเวลาช่วงเย็น ประมาณ 17.00 น. ทหารฝ่ายฝรั่งเศสส่วนที่เหลือตัดสินใจที่จะล่าถอยถอยออกไป


เวลาที่เหลือ ฝรั่งเศสใช้ในการลำเลียงศพเพื่อนที่ลากมาได้ และผู้บาดเจ็บใส่รถ คนที่เดินได้ก็เดินกลับไปศรีโสภณ จบวันมหาวินาศอันยาวนานการรบจึงยุติ ฝ่ายฝรั่งเศสเสียชีวิตไปประมาณ 110 นาย บาดเจ็บ 250 นาย สูญหาย 58 นาย ถูกจับเป็นเชลย 21 นาย
ตัวผู้บังคับกองพันของทหารต่างชาติ เสียชีวิตในที่รบ ค้นได้บัตรประจำตัว นอกนั้นได้เอกสารเกี่ยวกับการรบอีกด้วย ฝ่ายไทยเสียชีวิตในที่รบ 1 นาย (บางบันทึกว่าไม่ตาย) และได้รับบาดเจ็บอีก 2 นาย กองทหารเขมร และทหารญวนที่ติดตามมาอีก 2 กองพัน ได้แตกกระจัดกระจายไป ยึดรถถังมาได้ 6 คัน รัฐบาลทหารของไทยเอามาจอดให้ประชาชนชมที่สวนอัมพร
พล.ต.หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เอาใจเชลยศึกฝรั่งเศสเหล่านี้มาก เพราะว่าเคยเป็นอดีตนักเรียนนายทหารเก่าฝรั่งเศส จึงมีการสั่งอาหารจากโรงแรม 5 ดาว ซึ่งมีแห่งเดียวในขณะนั้น มาเลี้ยงเชลยเหล่านี้ รัฐบาลไทยเอารูปธงฯ ที่ยึดได้ ออกประจานฝรั่งเศสไปทั่วโลก
เหตุการณ์สงครามระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส เกิดติดๆ กันในวันที่ 16 มกราคม ซึ่งกองทัพบกฝรั่งเศส พ่ายแพ้ไทยยับเยิน ที่สมรภูบ้านพร้าว และต่อมาวันที่ 17 มกราคม ก็เกิดสมรภูมิรบทางเรือที่เกาะช้าง ซึ่งไทยเสียเรือรบชั้นเยี่ยมไปถึง 3 ลำ

และการรบทางอากาศระหว่างกัน เครื่องบินของกองทัพอากาศ ทั้งสองฝ่ายที่ยิงกันตกเป็นว่าเล่น คลังเชื้อเพลิงเกือบหมดแล้ว และคลังแสงกระสุนก็ร่อยหรอ ญี่ปุ่นคำนวณแล้วเห็นว่า พันธมิตรทั้งสอง คือ ไทย และ อินโดจีนฝรั่งเศส บอบช้ำเต็มที สมควรจะหยุดได้แล้ว
รัฐบาลญี่ปุ่น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทให้ยุติลง เมื่อมหาอำนาจบอกให้หยุด ทั้งไทยและอินโดจีนฝรั่งเศสไม่มีใครกล้าหือ โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อประชุมทำสัตยาบันสันติภาพ สงบศึกที่โตเกียว ที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่นก็เป็นฝ่ายนั่งฟัง ให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกัน จะเอาโน่นเอานี่ไปก่อน พอยันกันเหนื่อยหาที่ยุติไม่ได้ ญี่ปุ่นถึงจะทุบโต๊ะว่างั้นเอาอย่างนี้
ให้ไทยได้ดินแดนคืน แต่ก็ต้องจ่ายเงินมหาศาล ให้ฝรั่งเศสเป็นค่าชดเชยพร้อมกำไร เป็นค่าสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อินโดจีนฝรั่งเศสได้ลงทุนไปแล้วในดินแดนที่จะยกให้ไทย อินโดจีนฝรั่งเศส กำลังขาดเงินหิวโหยอยู่แล้ว จึงยอมรับข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นอันว่าเป็นที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย
ซึ่งต่างก็นำไปอ้างกับประชาชนของตนได้ว่าเป็นชัยชนะในข้อตกลง อินโดจีนฝรั่งเศส จึงยอมยกดินแดนหลวงพระบาง ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง นครจำปาศักดิ์ กับที่ท่าสามเหลี่ยมฝั่งขวา และอาณาเขตมณฑลบูรพาเดิมให้กับไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะ ไทยก็ต้องคืนดินแดนให้ฝรั่งเศสไป แต่เงินนั้นฝรั่งเศสไม่ยอมคืนมา
ฝรั่งเศสก็ขอเจรจาขอให้ไทยคืนธงชัยเฉลิมพลสมรภูมิรบบ้านพร้าวดังกล่าว ฝ่ายไทยแสดงความเป็นมิตรจะได้เลิกเป็นศัตรูกันเสียที จึงคืนให้ฝรั่งเศสไปด้วยความเข้าใจเป็นอันดีถึงหัวอกทหารของเขา
ผลจากกรณีพิพาทระหว่าง 2 ประเทศในสงครามอินโดจีนครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียทหาร จำนวน 160 นาย จึงมีการสร้างอนุสรณ์สถาน คือ “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ “ ขึ้น เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และ พลเรือน ที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาท รูปแบบใช้ดาบปลายปืนซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร ห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก
ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับศิลาอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร รอบดาบปลายปืนมีรูปปั้นนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ยืนล้อมรอบอยู่ ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ข้างล่างด้านในอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่ ภายในจะเป็นล็อคๆ คล้ายๆ ล็อคเกอร์ บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ( น่าจะมีคนไทยจำนวนมาย ที่ไม่รู้ว่าข้างล่างด้านในอนุสาวรีย์เป็นอย่างไร)
ซอยรางน้ำ ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คือ แหล่งชักน้ำขึ้นรดผักของคนจีนสมัยนั้น ที่ปลูกผักขาย การถมฐานอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สมัยนั้นจึงต้องใช้ดินที่ขุดขึ้นมาจากซอยแยก จากซอยรางน้ำ เช่น ซอยชวกุล ซอยวัฒนโยธิน และ ซอยอื่น ๆ


ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้ มีทั้งสิ้น 160 คน เป็นทหารบก 94 คน ทหารเรือ 41 คน ทหารอากาศ 13 คน และตำรวจสนาม 12 คน จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 คน
ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ จะร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะ ต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า และยังมีพิธีสวนสนามที่ลานอเนกประสงค์ กองพันทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ด้วย
ที่นี้ใครนั่งรถยนต์ หรือ รถไฟฟ้า ผ่าน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร ก็จะนึกถึงเนื้อหาในตอนนี้ได้ว่า เขาสร้างเพื่ออะไร มีที่มาเป็นอย่างไร ข้างล่างด้านในอนุสาวรีย์ฯ มีอะไรอยู่ และเล่าขานให้คนอื่นฟังได้อย่างภาคภูมิใจ !!

ส่วนแก๊งค์เผาไทย และกลุ่มก่อการร้ายแดง นปช. และผู้เกี่ยวข้อง ที่เคยใช้จ้างวานให้ไปปาระเบิด RGD-5 ใส่/ใส่ประชาชนที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาจนมีผู้ตายและบาดเจ็บนั้น ก็ถือว่าได้กระทำลบหลู่ วีรชน ของทหาร ตำรวจ พลเรือน และ ผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงคราม
จะถูกคำสาบ โจมตีตามไล่ล่าเอาชีวิต ของพวกนั้น และครอบครัว เสมือนถูกไล่ล่าอยู่ในสงครามไม่รู้จักจบจักสิ้น จะมีอันเป็นไปตายอย่างทรมาณที่สุด..สังเกตุไหมว่า ทำไมจู่ๆ แกนนำคนเสื้อแดงถึงพร้อมใจ นัดกันตายมากผิดปกติเป็นใบไม้ร่วง..ลองไปนั่งคิดดู..ยังมีอีกเยอะ แล้วจะหนาว !!

Cr. เสธ น้ำเงิน3





วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ญี่ปุ่น มอง ไทย เจ็บแต่จริง ! !



เรียกว่าเป็นการวิเคราะห์ที่จี้แทงใจดำคนไทยเสียจริง ๆ สำหรับข้อคิดเห็นของนายเซ็ทซึโอะอิอุจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพ  นายอิอุจิระบุว่า ไทยอาจไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุน เหมือนที่ผ่านมาในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น โดยชี้จุดอ่อนคนไทยไว้ถึง 10 ข้อ ที่เราคนไทยควรรู้และรับทราบ เพราะที่กล่าวมาทุกข้อแทบปฏิเสธไม่ได้เลย ไม่เชื่อลองไล่อ่านแล้วพิจารณาอย่างปราศจากอคติ และไม่ต้องว่าเค้านะคะ  เพราะนี่คือกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนตัวตนของเรา

1.คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภท มือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดธุรกิจการเมืองธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติ ล้าหลังไปเรื่อย

2.การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง จึงตามหลังชาติอื่น คนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก เพื่อโอกาสที่ดีกว่า

3. มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนมีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน

4.ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว คนไทยจึงถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือลงเรื่อย ๆ

5.การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และชุมชนซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม

6.การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อนไม่มีมาตรฐาน

7.อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัย ยกย่องคนมีอำนาจ มีเงินโดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจเอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้าย ดีแต่พูดมือไม่พายเอาเท้ารานํ้า

ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

8.เอ็นจีโอค้านลูกเดียว บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์บ่อยครั้งที่ต้องเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริง ๆ ไม่ได้พูดกัน

9.ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือ ในเวทีการค้าระดับโลกยังขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดีทำให้สู้ประเทศเล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้

10.เลี้ยงลูกไม่เป็น เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็งเพราะการเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ไม่กระตือรือร้นในการช่วยตนเองขวนขวายแสวงหา ค้นหาตัวเองและไม่สอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

  เจ็บปวดจริง ๆ แต่มันคือเรื่องจริงที่เถียงไม่ออก เห็นทีไทยเราจะต้องปรับตัวอย่างหนัก  เริ่มตั้งแต่ในครอบครัว สังคม  ตลอดจนหน่วยงานภาคธุรกิจ  และภาครัฐบาลต้องร่วมกันตระหนักและหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง

  ขอบคุณรูปจาก www.manager.co.th

ที่มา : Smart SME

ไขปริศนา..อนุสาวรียชัยสมรภูมิ เกี่ยวอะไร ไทย กับ ฝรั่งเศส (ตอนแรก)

ไขปริศนา..อนุสาวรียชัยสมรภูมิ เกี่ยวอะไร ไทย กับ ฝรั่งเศส (ตอนแรก)


อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร อยู่กึ่งกลางระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5 ของถนนพหลโยธิน ( กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ) โดยรอบของอนุสาวรีย์ฯ มีถนนรอบๆ เป็นวงเวียน
บริเวณเดิมของที่แห่งนี้ แต่ก่อนเคยเป็นสี่แยกเรียกกันว่า "สี่แยกสนามเป้า" แต่ในปัจจุบันอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ที่สำคัญของกรุงเทพฯ มีรถโดยสารให้บริการหลายเส้นทาง ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า และรถตู้ ตั้งแต่เด็กหลายคนนั่งรถผ่านไปผ่านมา อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร แต่ไม่เคยทราบว่าเขาสร้างเพื่ออะไร และมีที่มาเป็นอย่างไร ข้างล่างด้านในอนุสาวรีย์ฯ มีอะไรอยู่ จึงจะไขปริศนาข้อสงสัยนี้


    ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่อเมริกา และ ยุโรป ทำท่าไม่อยากจะขายอาวุธให้ไทย ประเทศญี่ปุ่น จึงขายอาวุธทันสมัยให้ไทยถูกๆ เพราะหวังว่าวันหนึ่งจะได้ไทยเป็นพวก เอาอาวุธญี่ปุ่น ไปช่วยขับไล่ฝรั่งเศส ออกจากดินแดนที่ญี่ปุ่น หวังจะได้ครอบครองแหล่งทรัพยากรแทน โดยเฉพาะฝรั่งเศสในอินโดจีน
แต่เนื่องจากฝรั่งเศส แพ้กับฮิตเลอร์ แห่งเยอรมัน ในสงครามภาคพื้นยุโรปเร็วเกินไป รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส (สมัยนั้นเรียก อินโดจีนฝรั่งเศส หรือรัฐบาลวีชี่ ) ขาดน้ำเลี้ยง ญี่ปุ่นจึงบีบ เข้าเป็นพันธมิตรได้ง่ายๆ โดยรบกันเพียง 4-5 วันหลังการยกพลขึ้นบกที่เวียดนาม ฝรั่งเศสก็ยอมเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าไปตั้งฐานทัพในญวนทางเหนือ เพื่อจะบุกจีนได้
ดังนั้นความจำเป็นที่จะยืมมือไทย ช่วยผ่อนแรงบ้างก็หมดไป ไทยจึงหาข้ออ้างเรียกร้องขอดินแดนคืนจากฝรั่งเศส โดยส่งทูตไปทั้งโตเกียว และเบอร์ลิน เพื่อขออนุญาตทะเลาะกับอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลกลางทั้งสองชาติยอมเปิดไฟเขียวให้ โดยมีข้อแม้ว่า จะต้องไม่บุกเกินพื้นที่ๆ เคยเป็นของไทยมาก่อนเท่านั้น ส่วนอื่นๆ ห้ามแตะ
พ.ศ.2483 สมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อได้ไฟเขียวจากรัฐบาล 2 ชาติ ไทยได้เรียกร้องดินแดนคืนจากอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งก็ได้เร่งรัดให้ทำสัตยาบัน ไม่รุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส เป็นการตอบแทนตามที่ได้เคยทำสัญญาไว้ โดยสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ เมื่อแลกสัตยาบันกันเรียบร้อยแล้ว
รัฐบาลไทยให้คำตอบว่ายินดีจะทำตาม หากอินโดจีนฝรั่งเศส ยกดินแดนหลวงพระบาง ปากเซ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่ฝรั่งเศสยึดไปเมื่อปี พ.ศ. 2447 คืนให้กับไทย และทำการปักปันเส้นเขตแดนในลำน้ำโขงให้เรียบร้อย นอกจากนี้ต้องรับประกันว่าจะยกดินแดนลาว ซึ่งเดิมเป็นอาณาจักรของไทยคืนให้ไทย หลังจากที่พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศสแล้ว แต่อินโดจีนฝรั่งเศส ตอบปฏิเสธข้อเสนอนี้
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 อินโดจีนฝรั่งเศส ทำการทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทกัน และทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยทางรัฐบาลไทย ได้โต้ตอบโดยการทิ้งระเบิดเช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารและอาวุธ
ทหารต่างด้าวฝรั่งเศส ก็คือทหารรับจ้างรบ ที่รัฐบาลฝรั่งเศส ไม่สนประวัติของแต่ละคนจะเป็นโจร หรือฆาตกรมาจากไหนของโลก จะเชื้อชาติ หรือสัญชาติใด ไม่เกี่ยง หากทดสอบผ่านการฝึกอันทารุณได้ ทหารต่างด้าวจึงมีทุกสีผิว ฝรั่งเศส เอาไว้ส่งไปรบในบรรดาเมืองขึ้นต่างๆ เช่น ในอัฟริกา (คล้ายๆ นักรบ IS ของมะกันในอิรัก และซีเรีย)
โดยมีหน่วยทหารของฝรั่งเศสไปควบคุมอีกทีหนึ่ง ทหารฝรั่งเศส ประสพผลสำเร็จในการสร้างความเกลียดชังจากเจ้าของประเทศเดิม เพราะพวกนักรบรับจ้างนี้ จะฆ่าพลางปล้นพลาง การมารบกับทหารไทยในสมรภูมิเขมรครั้งนี้ พอแพ้ก็ปล้นชาวบ้าน เอาทรัพย์สินเศษเล็กเศษน้อยไปด้วย ไม่ยอมถอยกลับมือเปล่าๆ
ทหาร ที่เกณฑ์มาจากญวน และเขมรไม่เรียกว่าทหารต่างด้าว แต่เรียกว่าทหารพื้นเมือง พวกนี้ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฝรั่งเศสก็ไม่ไว้ใจที่จะให้ใช้อาวุธดีๆ รบกับไทยก็แตกพ่ายแทบจะไม่ได้รบ พอปะทะกันสักพัก ทหารญวนก็ล่าถอย ทหารฝรั่งเศสก็เลยยิงทหารญวนอีกทีหนึ่ง จนรัฐบาลฝรั่งเศส ต้องสั่งการให้กรมทหารต่างด้าวที่ 5 ซึ่งประจำการอยู่ที่อ่าวตังเกี๋ย เคลื่อนพลมา หวังจะตีโต้ทหารไทยให้กระเจิง
พล.ต. หลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นแม่ทัพบก ประกอบด้วย กองทัพบูรพา กองทัพอีสาน กองพลผสมปักษ์ใต้ กองพลพายัพ และกองพลผสมกรุงเทพ แผนปฏิบัติการรบ คือ ให้กองทัพบูรพา โดยกองพลวัฒนานคร ที่ยกมายึดพื้นที่เพื่อป้องกันชายแดนตั้งแต่ต้น ให้เข้าตีด้านประเทศเขมร รุกจากอรัญประเทศ สู่ศรีโสภณ และพระตะบอง เพื่อมุ่งเข้ายึดกรุงพนมเปญ
ส่วนกองพลจันทบุรี ให้ทำการเข้าตีทางไพลิน ไปบรรจบกับกองพลลพบุรี ที่พระตะบอง , กองพลพระนคร ให้ทำการยุทธบรรจบกับกองทัพอิสาน ที่รุกเข้าทางด้านสุรินทร์ สู่เสียมราฐ มายังศรีโสภณ บรรจบกับกองทัพอิสาน ที่จะรุกเข้าทางด้านสุรินทร์ เพื่อยึดเสียมราฐ นครวัต กำปงทม มีเป้าหมายที่พนมเปญเหมือนกัน จากนั้น ให้ทั้งสองกองทัพกวาดล้างข้าศึกขึ้นไปทางเหนือตามแนวแม่น้ำโขง เพื่อบรรจบกับกองพลพายัพ ที่จะรบจากลาวลงมาทางใต้
วันที่ 5 มกราคม 2484 กองทัพบูรพาก็ดีเดย์ กองพลลพบุรีเป็นหัวหอก เคลื่อนที่ผ่านกองพลวัฒนานคร ซึ่งกระจายกำลังรักษาชายแดนด้านอรัญประเทศอยู่ เข้าตีข้าศึกที่ด่านปอยเปต ซึ่งเป็นแนวหน้าของอินโดจีนฝรั่งเศส กองพลนี้มีกำลังสามกองพัน หน่วยแรกรุกเข้ายังที่ประตูชัยปอยเปต ซึ่งฝรั่งเศสดัดแปลงที่มั่น และวางกำลังตั้งรับแข็งแรงมาก
มีทั้งลวดหนามและดงกับระเบิด พอเห็นทหารไทยบุกเข้าไป ฝรั่งเศสก็เผาหญ้าแห้งเป็นเครื่องกีดขวาง การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด ฝ่ายไทยใช้ความพยายามถึง 2 วันกว่าจะสามารถบุกเข้าประชิดขนาดใช้ดาบปลายปืนเข้าตะลุมบอน จนฝรั่งเศสถอดใจ ต้องสั่งถอยปล่อยให้ทหารไทยยึดปอยเปตได้วันที่ 7 มกราคม แต่ฝ่ายไทย ก็บาดเจ็บล้มตายมาก
ต่อจากนั้นกองพันทหารอีก 2 พัน ก็รุกคืบหน้าต่อไปตามแนวถนนปอยเปต-ศรีโสภณ ราวประมาณ 20 กม. ถึงแนวตั้งรับของข้าศึก ซึ่งฝรั่งเศสสร้างเป็นพะเนียดคล่อมถนนไว้ ใช้เสาในป่า แต่เป็นไม้เนื้อแข็ง ฝังดินเรียงกันเป็นนิ้วมือ ใช้ขอนไม้ทั้งต้นมาวางซ้อนกันไว้เป็นชั้นๆ เจาะช่องไว้กว้างไม่เกิน 6 นิ้วไว้เป็นระยะ ๆ
ช่องนี้ใช้สอดปากกระบอกปืนยิงทหารไทย โดยอาศัยเสาเป็นเกราะกำบังกระสุนของทหารไทย ด้านหน้าขึงลวดหนามแขวนกระป๋องไว้เป็นระยะ เพื่อให้เกิดเสียงดัง ภายในที่มั่นขุดคูสนามเพลาะ ติดต่อถึงกันโดยตลอด และมีคลังเก็บกระสุนวัตถุระเบิดไว้จำนวนมาก ปกติเพนียดต้องทำทึบทั้งสี่ด้าน แต่ฝรั่งเศสทำไว้เพียงด้านหน้ายาวประมาณ 4 เส้น
ด้านข้างติดถนนสายพระตะบอง – ปอยเปต ทำไว้ไม่เกินหนึ่งเส้น เพราะยังทำไม่เสร็จ เนื่องจากทหารไทยก็รุกเข้าไปถึงเสียก่อน ทหารราบของไทย เคลื่อนที่ด้วยการเดินเท้าไปในเวลากลางคืน ประมาณ 3 ชั่วโมงก็มาติดอยู่ที่ลวดหนามหน้าแนวตั้งรับของข้าศึกนี้ โดยไม่ได้คาดการณ์มาก่อน จึงถูกฝ่ายฝรั่งเศสระดมยิงอย่างหนัก ฝ่ายไทยเกิดความระส่ำระสายรวนเรไปหมด ผู้บังคับบัญชาจึงต้องรายงานขอกำลังหนุนมาช่วย
แต่กว่าจะเคลื่อนกำลังมา กว่าจะถึงแนวรบก็ใช้เวลา 3 ชั่วโมง กองพันส่วนปะทะของไทย พอได้ข่าวกองหนุนกำลังมา ก็มีกำลังใจยึดพื้นที่รออยู่ได้โดยไม่ถอย พอมาถึงกองพันที่มาช่วยก็เคลื่อนที่เข้าตีโอบปีกทางด้านซ้ายจนสุดแนวป้องกัน แล้วเข้าตีด้านหลัง พอเห็นทหารไทยรบจริงจัง ฝ่ายฝรั่งเศสจึงแหวกวงล้อมถอยไป


ฝ่ายไทยสามารถยึดค่ายเพนียดได้ ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ฝ่ายไทยเสียกำลังพลของกองพันส่วนหน้าที่ปะทะไปในตอนแรกพอสมควร ในขณะเดียวกัน กองพลพระนคร ซึ่งมีกำลังสามกองพัน อยู่ทางด้านเหนือของกองพลวัฒนานคร ก็ได้เคลื่อนที่จากชายแดนไทย เข้าไปในดินแดนข้าศึกโดยกองพันแรก เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางในภูมิประเทศ พอลึกเข้าไปประมาณ 3 กม.ก็ได้รับการยิงต้านทานที่บ้านยาง แต่ยิงกันไม่นานก็สามารถยึดได้
ส่วนอีกกองพันหนึ่ง เคลื่อนที่เข้าไปตามถนนอีกเส้นที่อยู่ห่างจากถนนปอยเปต-ศรีโสภณไปทางเหนือประมาณ 12 กม. เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปได้ประมาณ 9 กม. ก็ถึง “บ้านพร้าว” ซึ่งข้าศึกได้วางกำลังตั้งค่ายใหญ่รับไว้ ฝ่ายไทยเข้าตีตั้งแต่วันที่ 6 - 11 มกราคม 2484 ฝรั่งเศสก็ถอยไปทางศรีโสภณ
ปล่อยให้ไทยเข้ายึดค่ายได้ แล้วพักกำลังพลไทยอยู่ที่บ้านพร้าวนั้น มีการส่งกำลังทหารออกลาดตระเวนต่อไปอีก 10 กม.ก็ไม่พบข้าศึก หลังจากวันนั้นไปแล้ว ทั้งกองทหารไทยและฝรั่งเศสต่างก็วางกำลังยันกันอยู่ โดยไม่มีการสู้รบใหญ่ เว้นแต่มีการปะทะระหว่างหน่วยลาดตระเวนบ้างเล็กน้อย
พอเพนียดถูกตีแตก ฝ่ายฝรั่งเศสก็เจ็บใจ จึงสั่งกองพันผสมทหารเสือมาจากไซ่ง่อน ทหารกองนี้เป็นทหารรับจ้าง มีชนเกือบทุกชาติสังกัดเป็นทหาร กิตติศัพท์การรบของทหารกองนี้ดังเหมือนพลุแตก จนได้เหรียญกัวเดอร์แกส์ แขวนธงประจำกอง
วันที่ 13 มกราคม 2484 ผู้บังคับกองพัน กับคณะ ได้ออกตรวจภูมิประเทศ สังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และพบเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าฝรั่งเศส ได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าวนั้น เป็นกลลวงที่จะตีโต้กลับภายหลัง โดยได้วางแผนเตรียมการไว้แล้ว ถ้ากองพันทหารไทย ตั้งอยู่ที่เดิมน่าจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง
ในเย็นวันนั้นเอง หน่วยลาดตระเวนของข้าศึกฝรั่งเศส ก็เข้ามาลอบยิงทหารหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพัน แต่ไม่โดนใคร ทหารไทยใช้วิธีขับไล่ด้วยอาวุธปืนเล็ก ไม่ใช้อาวุธหนักและปืนกลถ้าไม่จำเป็น เพื่อลวงข้าศึกถึงศักยภาพในการรบของฝ่ายไทย การที่ข้าศึกเกิดลอบยิงเข้ามานี้ นี้ทำให้ไทยทราบได้ทันทีว่า ฝรั่งเศสใกล้จะโจมตีจะเอาที่มั่นคืนแล้ว
ทหารไทย ขออนุมัติเคลื่อนกำลังพลออกไปข้างหน้าอีกประมาณ 4 กม. แต่เมื่อรายงานไปทาง กองทัพบูรพา ก็ถูกสั่งห้ามไม่ให้หน่วยนี้เคลื่อนที่โดยเด็ดขาด เพราะจะผิดแผนที่กองทัพวางไว้ แต่ผู้บังคับกองพัน สั่งประชุมนายทหาร มีเห็นว่าอยู่ที่นี่ไม่ได้แล้ว ข้าศึกรู้ภูมิประเทศดี และคงกำหนดเป้าหมายไว้หมด ถ้าขืนถูกโจมตีเราจะเสียเปรียบมาก


ดังนั้นกองพันนี้ จึงเคลื่อนกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ เดินเท้าไปทางตะวันออกห่างจากที่เดิมประมาณ 4 กม.แล้ววางกำลังเรียงรายลงในห้วยแห้ง ที่หมายตาไว้แล้ว ลำห้วยนี้ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง เป็นที่มั่นตามธรรมชาติแนวรูปตัวยู เหมาะสมที่สุดสำหรับจะใช้เป็นพื้นที่สังหาร
ทหารทุกคนเข้าที่ วางปืนกลหนักไว้ที่ก้นตัวยู แล้วทั้งกองพันถูกกำชับให้อยู่ด้วยความสงบ จะยิงพร้อมกันเมื่อได้รับคำสั่ง และให้ยิงตามแผนการยิงเท่านั้น ใครถูกกำหนดให้ยิงไปทางทิศใดก็ให้ยิงไปโดยเฉพาะทิศที่ว่า ถ้าทำเช่นนี้ในทางทฤษฎี พื้นที่สังหารจะไม่มีจุดอับกระสุนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว
วันที่ 15 มกราคม 2484 กลางคืน ทหารฝรั่งเศสสั่งเคลื่อนทัพ ประมาณ 03.00 น. เสียงเครื่องยนต์ของรถทหารฝรั่งเศส ก็แว่วเข้าหูทหารไทยที่นอนรออยู่ในลำห้วยแห้ง ปลุกประสาททุกส่วนให้ตื่นตัวขึ้นทันที ขบวนรถบรรทุกทหารฝรั่งเศส เข้ามาจอดห่างจากที่กองพันทหารไทยซุ่มอยู่ประมาณ 500 เมตร
คืนนั้นมืดมากจนทหารไทยแทบจะไม่เห็นทหารฝรั่งเศส ที่ถูกขนมาด้วยรถพ่วง พอรถจอดสนิทก็โดดลงมาเข้าแถวรอคำสั่ง ประมาณ 04.00 น. กองลาดตระเวนส่วนหน้าของฝรั่งเศส ก็เคลื่อนที่เข้ามาตามถนน และเดินข้ามสะพานทีทหารซ่อนตัวอยู่ข้างใต้ ทุกคนแทบจะไม่กล้าหายใจ กลัวว่าพวกฝรั่งเศสจะได้ยิน
ทหารฝรั่งเศส ข้ามสะพานไปได้สักพักก็หยุด แล้วคนเดินนำหน้า ก็หันหลังพาพวกเดินข้ามสะพานกลับไป ก็ฝรั่งเศสมันมากลางดึกเพราะหวังจะโจมตีไม่ให้ฝ่ายไทยรู้ตัว ฝรั่งเศสไม่ได้เอาหมามาด้วย เพราะเกรงจะเห่าแล้วทหารไทยได้ยินเข้าก็คงจะเสียการใหญ่ หัวหน้ากองลาดตระเวน ไปรายงานให้นายทราบว่าทุกอย่างเป็นปกติดี



ประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อมา นายทหารฝรั่งเศสสั่งการให้ทหารต่างด้าว เคลื่อนพลเข้าโจมตีบ้านพร้าวตามแผน พร้อมกองผสม ที่จะเข้าตีบ้านยาง ด้วยความประมาท และคิดว่ายังต้องเดินอีกตั้ง 4 กิโลเมตรจึงจะถึงที่ตั้งค่ายบ้านพร้าว ยังมีเวลาอีกมาก ฝ่ายฝรั่งเศส ทั้งหมดจึงเดินแถวกันมาอย่างสบายๆ พูดคุยกันไปด้วย บางคนสูบบุหรี่

Credit: เสธ น้ำเงิน3

** ตอนต่อไปจะเป็นการรบที่นองเลือดที่สุด ระหว่างไทยกับฝ่ายฝรั่งเศส และไขปริศนาว่าข้างล่างด้านในอนุสาวรียชัยสมรภูมิมีอะไร ดินที่ถมมาจากไหน